Local
 
สถิติผู้เข้าชม
Today
1
Yesterday
1
This month
19
This year
110

ข่าวสาร ฝ่ายวิจัย


ประกาศชุดโครงการวิจัยควบคมุยาสูบที่สำคัญของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ

01/01/1970
อ่าน : 416 ล่าสุด : 2024-04-20 11:38:14


ด้วยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานวิจัยเพื่อการควบคุมยาสูบ ให้กับนักวิชาการหรือนักวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยที่มีผลนำไปสู่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สามารถประยุกต์นำไปสู่นโยบายระดับประเทศและงานวิจัยที่นำไปสู่การรณรงค์ภาคส่วนในสังคมเพื่อตอบสนองต่อการควบคุมยาสูบของประเทศไทยได้ โดยอิงกรอบอนุสัญญาเพื่อการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (Framework Convention on Tobacco Control WHO: FCTC) ภายใต้บริบทของสังคมไทย ลักษณะของชุดโครงการวิจัย

ชุดโครงการตามโจทย์วิจัย ประกอบด้วยโครงการวิจัยหลายโครงการที่มุ่งศึกษาในมิติต่างๆของประเด็นวิจัยหลักเพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาประกอบกันในการนำไปสู่การจัดการความรู้และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยโครงการวิจัยในชุดโครงการมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมยาสูบสอดคล้องกับความต้องการเชิงนโยบายของประเทศ และการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO-FCTC) ที่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กำหนดไว้

2. เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการในประเทศไทย ทั้งที่เป็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้การวิจัยเพื่อมุ่งเป้าหรือการวิจัยเชิงประยุกต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมยาสูบ

3. เป็นโครงการวิจัยที่พัฒนาอย่างมีมาตรฐานเชิงวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะนำมาซึ่งผลงานวิจัยมีคุณภาพที่สามารถตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ หรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่าง ๆ

4. ผลงานวิจัยที่ขอทุนของ ศจย. จะต้องมีการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารวิชาการทุกเรื่อง และจะต้องได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ก่อนจะมีการเบิกเงินในงวดสุดท้ายของสัญญา

5. ผลจากการดำเนินงานต่างๆ ตามสัญญานี้อันรวมถึงผลงานต้นฉบับ บทความ สิ่งตีพิมพ์ เป็นต้น เมื่อแล้วเสร็จให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมของ “ผู้ให้ทุน” และ “ผู้รับทุน” แต่ “ผู้รับทุน” ไม่มีสิทธิที่จะนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่ซ้ำ ดัดแปลง หรือทำสำเนา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “ผู้ให้ทุน”

6. ผ่านการอบรม TRC e-learning หลักสูตรการควบคุมยาสูบพื้นฐาน(basic course) ลักษณะของทุนประเภทงานวิจัยทั่วไป

1. เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบสอดคล้องกับความต้องการเชิงนโยบายของประเทศ และการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO-FCTC) และมีการประเมินหรือคิดค้นนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมยาสูบ

2. เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการในประเทศไทย และเป็นการวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้การวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมยาสูบ

3. เป็นโครงการวิจัยที่พัฒนาอย่างมีมาตรฐานเชิงวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะนำมาซึ่งผลงานวิจัยมีคุณภาพที่สามารถตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ หรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่าง ๆ

4. ผลงานวิจัยที่ขอทุนของ ศจย. จะต้องมีการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารวิชาการทุกเรื่อง และจะต้องได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ก่อนจะมีการเบิกเงินในงวดสุดท้ายของสัญญา

5. ใช้งบประมาณ ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

6. ผลจากการดำเนินงานต่างๆ ตามสัญญานี้อันรวมถึงผลงาน ต้นฉบับ บทความ สิ่งตีพิมพ์ เป็นต้น เมื่อแล้วเสร็จให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมของ “ผู้ให้ทุน” และ “ผู้รับทุน” แต่ “ผู้รับทุน” ไม่มีสิทธิที่จะนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่ซ้ำ ดัดแปลง หรือทำสำเนา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “ผู้ให้ทุน”

7. จะต้องเป็นงานวิจัยที่ไม่เคยมีบุคคลศึกษาหัวข้อนี้มาก่อน

8. ผ่านการอบรม TRC e-learning หลักสูตรการควบคุมยาสูบพื้นฐาน(basic course)

คุณสมบัติของผู้รับทุนวิจัย

1. อาจารย์ นักวิจัย หรือนักวิชาการ ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ/ ภายใต้กำกับของรัฐ

2. นักวิชาการอิสระและบุคคลทั่วไป ซึ่งเคยมีผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการทั่วไป หรือวงการการควบคุมยาสูบ

3. ผู้วิจัยหลัก (PI) ต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท รวมถึงมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในประเด็นวิจัยที่รับทุน

ในกรณีที่เป็นบุคคลทั่วไป จำเป็นต้องมีนักวิชาการ / นักวิจัย ซึ่งมีประสบการณ์และผลงานวิจัยอันเป็นที่ยอมรับของวงการวิชาการหรือควบคุมยาสูบ คอยกำกับดูแลเป็นที่ปรึกษา และมีเวลาให้คำปรึกษาแก่ผู้วิจัย โดยมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้รับทุนวิจัย ตลอดจนที่ปรึกษา ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาสูบทั้งทางตรงและทางอ้อม หากมีการแจ้งเท็จหรือปิดบังข้อเท็จจริง ศจย.จะงดการให้ทุนและจะขอเรียกเงินทุนที่สนับสนุนคืนทันที

การยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน

• ผู้ขอรับทุนวิจัยจัดส่งเอกสารข้อเสนอโครงการให้ ศจย. ตามแบบฟอร์มที่ ศจย.กำหนด โดยส่งข้อเสนอโครงการมายังสำนักงาน ศจย. หรือทางอีเมล์ของ ศจย. ที่ research1@trc.or.th

• การกำหนดงบประมาณของโครงการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ศจย. กำหนด


06/12/2018 | กรรณิการ์